ไร่กัญชา “บุปผากัญ”
เราได้รับอนุญาติปลูกกัญชาถูกต้องตามกฎหมาย
ตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อ 15 ก.พ. 65
ใบอนุญาตเลขที่สก 1/2565 (ป) ตั้งแต่ก่อนที่
กฎหมายจะถูกปลดล็อค เมื่อ 9 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา
เราได้รับอนุญาติปลูกกัญชาถูกต้องตามกฎหมาย
ตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อ 15 ก.พ. 65
ใบอนุญาตเลขที่สก 1/2565 (ป) ตั้งแต่ก่อนที่
กฎหมายจะถูกปลดล็อค เมื่อ 9 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา
ลองพิมพ์ คำค้นหา เช่น ดอกกัญชาแห้ง | พันลำ | ชุดกัญชาดองน้ำผึ้ง เป็นต้นค้นหาผลิตภัณฑ์กัญชาเกรดการแพทย์
ชาใบกัญชา
กัญชาสำหรับ ทำงาน-เที่ยว
พันลำกัญชาหนองหมากฝ้าย (สินค้าบริการพันลำ-สั่งล่วงหน้า 1 ชุดมี 12 ชิ้น)
สมุนไพรกัญชา
กัญชาสำหรับ ทำงาน-เที่ยว
กัญชาสำหรับ พักผ่อน-นอนหลับ
คือ พืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบมันสำปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน กัญชาถูกจัดเป็นพืชในสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มีต้นกำเนิดอยู่แถบเอเชียกลาง และกระจายปลูกใน หลายๆ ส่วนของโลก กัญชา เรียกกันโดยทั่วไปว่า Cannabis, Marijuana(แสลง), Ganja หรือบางครั้งก็เรียกว่า Indian Hemp กัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. indica กัญชา เป็นพืชที่มีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย แยกกัน (dioecious plant) พืชกัญชามีสารสำคัญคือ สารแคนนาบินอยด์(cannabinoids) มากกว่า 100 ตัว โดย มีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol-THC) เป็นสารสำคัญ ซึ่งให้ผลที่ทำให้เกิดการกระตุ้น ประสาท ปริมาณสาร THC มีมากหรือน้อยและผลการกระตุ้นประสาทของพืชกัญชาขึ้นกับสภาพแวดล้อมของพื้นทีที่ปลูก สายพันธุ์ วิธีการปลูกและส่วนของต้นกัญชาที่นำมาใช้ ทั้งนี้ส่วนของต้นกัญชาที่มีสารดังกล่าวมากที่สุด คือ ช่อดอก (flower heads) และใบ (leaves)
ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ
เป็นภาษาละติน แปลว่า เพาะปลูก ตั้งโดย คาโรรัส ลินเนียส Carolus Linnæus หรือ Carl Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1753 (พ.ศ. 2296) มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซาติวามีลำต้นหนา ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาว เรียว สีเขียวอ่อน (เมื่อเทียบกับอินดิกา) ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและ อากาศร้อน ซาติวามีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Psychoactive) สูงกว่าอินดิกา
ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) ทหารนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อและตีพิมพ์ความรู้เรื่องกัญชาสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ. 1785 (พ.ศ. 2328) กัญชาสายพันธุ์อินดิกาได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ค้นพบในอินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง
อินดิกามีลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม (เมื่อเทียบกับซาติวา) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น อินดิกามีสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับ ประสาท (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง
ผู้ตีพิมพ์เรื่องราวกัญชาสายพันธุ์นี้คนแรก คือ นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ดี.อี. จานิสเชสกี้ (D. E. Janischewsky) เมื่อปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสมีแหล่ง กำเนิดบริเวณตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป
รูเดอราลิส มีลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์ ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น ปริมาณสาร THC น้อย (เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์แรก) แต่มี CBD สูง มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางยา
โดยทั่วไปนิยมเสพโดยการสูบ ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง อาการโดยทั่วไปจะเซื่องซึมลงอย่างช้าๆ แต่บางรายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
ในระยะแรกของการใช้กัญชา ผู้เสพกัญชาจะมีอาการเคลิ้มจิต (euphoric “high” or “stoned”) โดยในขั้นต้นๆ มักจะเป็นอาการกระตุ้นประสาท และบางคนจะมีอาการตึงเครียดทางใจหรืออาการกังวล ต่อมาก็มีอาการเคลิ้มจิตเคลิ้มใจ ทำให้ผู้สูบรู้สึกว่า บรรยากาศทั่วๆ ไปเงียบสงบ จากนั้นมักจะมีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เดี๋ยวหัวเราะลั่นเดียวสงบ เพราะฉะนั้นอาการเคลิ้มจิตจึงควรเรียกว่า “อาการบ้ากัญชา″ หรือ ผู้เสพบางคนจะมีอาการร่าเริง พูดมากและหัวเราะมาก หัวใจเต้นเร็ว และตื่นเต้นง่าย และต่อมาผู้เสพจะมีลักษณะคล้ายมึนเมาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะมีฤทธิ์กดประสาท อาการของผู้เสพ เช่น หายใจถี่ เห็นภาพลวงตาหรือภาพหลอน หู่แว่ว ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง และนอกจากนี้ ผู้เสพบางคน อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ความจำเสื่อมความคิดสับสนเพ้อคลั่ง หรือบางรายอาจไม่สามารถควบคุมตนเองได้ (***แต่หากใช้ในปริมาณน้อย หรือเหมาะสม ก็จะเป็นผลดี มากกว่า***)
อาการอื่นๆ ที่พบคือ ผู้เสพจะรู้สึกล่องลอย ปากแห้ง สับสน อยากอาหาร ชีพจรเพิ่มขึ้น ตาแดงขึ้นในขณะที่เสพยา หากเสพเป็นประจำจะทำให้สุขภาพเสื่อมลง ได้แก่โรคหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบทางเดินหายใจอักเสบ ตะคริว ท้องร่วง
โดยรวมแล้ว กัญชามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่คล้ายกับพวกยากระตุ้นประสาท (stimulant) ยากดประสาท (depressant) ยาหลอนประสาท (hallucinogen) ยาแก้ปวด (analgesic) และยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (psychotomimetic) หลายประการในยาตัวเดียวกัน มีรายงานการวิจัยว่า LSD มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงเป็น 160 เท่าของ THC และในขนาดใช้ที่ต่ำแล้ว กัญชาและแอลกอฮอล์มีฤทธิ์คล้ายกัน คือในขั้นต้นนั้น ทั้งสองตัวมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท แต่หลังจากนั้นจะมีฤทธิ์กล่อมประสาท
กัญชาเป็นพืชที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ในสหราชอาณาจักรมีการนำกัญชามา สกัดเพื่อผลิตตำรับส่วนผสมของ dronabinol – cannabidiol (sativex®) เพื่อใช้ในการรักษาโรคปลอกประสาท แข็ง (multiple sclerosis) ซึ่งตำรับนี้เป็นที่ยอมรับให้ใช้ทางการแพทย์ใน 24 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร, สเปน ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีการนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในการ บำบัดรักษาอาการจิตเวชและระบบประสาท (Neuropsychiatric symptoms) การรักษาอาการไม่อยากอาหาร ในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น บางประเทศจึงยอมให้มีการปลูกกัญชา เพื่อใช้ในทางการแพทย์ เช่น แคนาดา อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร สวิสเซอร์แลนด์ และบางรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีหลายประเทศ ยอมรับให้ใช้กัญชาในการรักษาทางการแพทย์ ทั้งนี้ปริมาณการบริโภคของกัญชาได้เพิ่มขึ้นจาก 23.7 ตัน ในปี พ.ศ.2554 เป็น 77 ตัน ในปีพ.ศ. 2557 ปัจจุบันมีนักวิชาการได้สรุปถึงประโยชน์ของสารบางอย่างในกัญชาซึ่งมี การใช้ทางการแพทย์ และมีศักยภาพในการใช้ตลอดจนมีการวิจัยที่น่าสนใจดังนี้